วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บทที่5ระบบปฏิบัติการและหลักการทำงาน

สรุป
ระบบปฏิบัติการ เป็นซอฟต์แวร์ชนิดหนึ่งทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ โดยอาจทำงานร่วมกับโปรแกรมประยุกต์และจักการควบคุมอุปกรณ์ต่างๆที่ต่ออยู่กับระบบคอมพิวเตอร์
ระบบปฎิบัติการยังมีความสามารถในการจัดการกับไฟล์ โดยอนุญาตให้ผู้ใช้ คัดลอก ย้าย ลบ หรือเปลี่ยนชื่อไฟล์ต่างๆได้โดยสะดวก และมีการจัดลำดับโครงสร้างของไฟล์ออกเป็นลำดับชั้นเรียกว่า โครงสร้างแบบต้นไม้ นอกจากนั้นยังสร้างหน่วยความจำเสมือนไว้เสริมกับหน่วยความจำRAMขณะที่ทำงานกับข้อมูลจำนวนมาก และกันพื้นที่ส่วนหนึ่งของฮาร์ดดิสก์เรียกว่า บัฟเฟอร์ สำหรับพักข้อมูลที่รับส่งกับอุปกรณ์นำเข้าและอุปกรณ์แสดงผลข้อมูลซึ่งโดยปกติจะทำงานช้ากว่าซีพียูมาก
แบบฝึกหัดท้ายบทที่5
1.cross-platform application คืออะไร จงอธิบาย
ตอบ โปรแกรมประยุกต์ที่สนับสนุนการทำงานบนระบบปฏิบัติการได้หลายๆตัว ซึ่งทำให้การใช้งานมีความหลากหลายมากขึ้น เนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์อาจจะมีการติดตั้งระบบปฏิบัติการที่ไม่เหมือนกันการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์เพื่อให้ทำงานข้ามแพลตฟอร์มหรือข้ามระบบปฏิบัติการได้ จึงเป็นทางเลือกให้กับผู้ใช้ได้ได้ดีพอสมควร
2. device driver มีประโยชน์อย่างไรต่อการทำงานกับคอมพิวเตอร์
ตอบ มีประโยชน์ในการช่วยให้คอมพิวเตอร์รู้จักกับอุปกรณ์ต่อพ่วงทั้งหลายที่เชื่อมต่อเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งจะทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ชนิดนั้นราบรื่นและสามารถทำงานได้อย่างไม่ติดขัด เมื่อถอด ย้ายหรือติดตั้งอุปกรณ์ต่อพ่วงนั้นเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นใหม่อีก ก็สามารถใช้device driver นี้ติดตั้งเพื่อให้เครื่องอื่นๆรู้จักและติดต่อสื่อสารได้อีกเช่นกัน ปกติผู้ผลิตจะแนบตัวโปรแกรมเหล่านี้มาพร้อมกับการซื้ออุปกรณ์แล้วในครั้งแรก
3. เสียงสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ตอบสนองออกมาสั้นบ้าง ยาวบ้างนั้นเกิดจากกระบวนการในขั้นตอนใด และเหตุใดจึงต้องทำเช่นนั้น
ตอบ กิดขึ้นในช่วงขั้นตอนที่เรียกว่า POST หรือ power on self test  ทำหน้าที่ตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่ในเครื่อง ไม่ว่าจะเป็นเมนบอร์ด ซีพียู แรม รวมถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงอี่นๆ เช่นคีบอร์ดหรือเมาส์ ซึ่งสังเกตผลการตรวจสอบนี้ได้ทั้งจากข้อความที่ปรากฏกบนจอภาพระหว่างบู๊ต และจากเสียงสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ส่งออกมา
4. ประเภทของการบู๊ตเครื่องมีกี่ประเภท อะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ มี2ประเภท คือ
1. โคลบู๊ต (cold boot)
เป็นการบู๊ตเครื่องที่อาศัยการทำงานของฮาร์ดแวร์ โดยการกดปุ่มเปิดเครื่อง (power on) แล้วเข้าสู่กระบวนการทำงานโดยทันที ปุ่มเปิดเครื่องจะทำหน้าที่เหมือนเป็นสวิตช์ปิดเปิดการทำงานโดยรวมของคอมพิวเตอร์ทั้งหมดเหมือนกับสวิตช์ของอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไป
2. วอร์มบู๊ต (warm boot)
เป็นการบู๊ตเครื่องโดยทำให้เกิดกระบวนการบู๊ตใหม่หรือที่เรียกว่า การรีสตารท์เครื่อง (restart)โดยมากจะนิยมใช้ในกรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานต่อไปได้ สามารถทำได้ 3 วิธีด้วยกันคือ
- กดปุ่ม Reset บนตัวเครื่อง
- กดปุ่ม C+a+d จากแป้นพิมพ์
- สั่งรีสตารท์เครื่องได้จากเมนูบนระบบปฏิบัติการ
5. จงบอกถึงความแตกต่างระหว่างส่วนประสานกับผู้ใช้แบบ Command line และแบบ GUI มาพอสังเขป
ตอบ ส่วนประสานงานแบบ command line จะสนับสนุนให้ผู้ใช้ป้อนข้อมูลคำสั่งด้วยตัวอักษรเพียงเท่านั้น จึงเหมาะกับผู้ที่มีความชำนาญในการใช้งานพอสมควร เนื่องจากต้องจดจำรูปแบบคำสั่งได้ดี สำหรับส่วนประสานงานกับผู้ใช้แบบกราฟฟิกหรือ GUI จะสนับสนุนการทำงานแบบรูปภาพคำสั่งมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดความสะดวกและไม่ยุ่งยากสำหรับผู้ใช้ โดยไม่จำเป็นต้องจำคำสั่งตัวอักษรเหล่านั้น ผู้ใช้เพียงแค่เลือกรายการคำสั่งภาพที่ปรากฎบนจอ ก็สามารถสั่งการให้ทำงานได้ตามต้องการ
6. โครงสร้างแบบต้นไม้ คืออะไร เกี่ยวข้องกับโครงสร้างไฟล์ในคอมพิวเตอร์อย่างไรบ้าง
ตอบ การจะจัดเก็บข้อมูลที่มีโครงสร้างแบบลำลบชั้นทำนองเดียวกับการสืบทอดสายพันธุ์ของมนุษย์ที่มีโครงสร้างสืบทอดกันมาเริ่มตั้งแต่ขั้นบรรพบุรุษจนมาถึงรุ่นลูกรุ่นหลานแตกย่อออกไปเรื่อยๆมกิ่งก้านแผ่ขยายสาขาออกไป
7. ส่วนประกอบย่อยของไฟล์ประกอบด้วยส่วนใดบ้าง จงยกตัวอย่างไฟล์มาอย่างน้อย 5 รูปแบบพร้อมทั้งอธิบาย  ด้วยว่าแต่ละรูปแบบมีความหมายเช่นไร
ตอบ ประกอบด้วยส่วนย่อย 2 ส่วน คือ ชื่อไฟล์ (naming files) และส่วนขยาย (extentions) ยกตัวอย่างไฟล์ 5 รูปแบบได้ดังนี้
1. myprofile.doc
ไฟล์ที่ใช้เรียกมีชื่อว่า myprofile นามสกุลหรือส่วนขยายคือ doc ซึ่งเป็นไฟล์ประเภทเอกสารงานนั่นเอง (document)
2. report.xls
ไฟล์ที่ใช้เรียกมีชื่อว่า report นามสกุลหรือส่วนขยายคือ xls ซึ่งเป็นไฟล์ประเภทตารางคำนวณพบเห็นได้กับการใช้งานในโปรแกรม Microsoft Excel
3. present.ppt
ไฟล์ที่ใช้เรียกมีชื่อว่า present นามสกุลหรือส่วนขยายคือ ppt เป็นไฟล์ที่ใช้สำหรับงานนำเสนอข้อมูล สร้างจากโปรแกรม Microsoft Powerpoint
4. about.htm
ไฟล์ที่ใช้เรียกมีชื่อว่า about นามสกุลหรือส่วนขยายคือ htm ซึ่งเป็นไฟล์ที่เขียนด้วยภาษา HTMLที่ใช้สำหรับการแสดงผลบนเว็บเพจ
5. message.txt
ไฟล์ที่ใช้เรียกมีชื่อว่า message นามสกุลหรือส่วนขยายคือ txt ซึ่งเป็นไฟล์ประเภทข้อความ มักสร้างจากโปรแกรมประเภท editor ทั่วไป
8. หน่วยความจำเสมือนเกี่ยวข้องกับการจัดการหน่วยความจำอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ หน่วยความจำเสมือนหรือ virtual memory จะเป็นหน่วยความจำที่ทำงานเหมือนกับ RAM โดยใช้เนื้อที่ส่วนของหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เช่น ฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุมากกว่า มาเก็บของส่วนงานทั้งหมดไว้เพื่อเอามาช่วยการทำงานของ RAM เมื่อต้องประมวลผลงานที่มากขึ้น โดยจะแบ่งงานที่มีอยู่ออกเป็นส่วนๆเรียกว่า page ซึ่งจะมีขนาดที่แน่นอน เมื่อใดที่ต้องการประมวลผล ก็จะเลือกเอาเฉพาะเพจที่ต้องการเข้าสู่หน่วยความจำ RAM จนกว่าข้อมูลใน RAM เต็ม จึงจะจัดการถ่ายเทข้อมูลดังกล่าวกลับไปไว้ในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เพื่อให้ RAM มีเนื้อที่เหลือว่างและทำงานต่อไปได้ ทำให้หน่วยความจำสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
9. spolling ที่เกิดขึ้นในการพิมพ์งาน มีหลักการอย่างไรบ้าง
ตอบ หลักการจะอาศัยพื้นที่ส่วนหนึ่งของฮาร์ดดิสก์ ใช้เก็บข้อมูลที่อ่านเข้ามาไว้ก่อนที่จะส่งไปที่เครื่องพิมพ์ เพราะการเก็บข้อมูลไว้ที่ฮาร์ดดิสก์ก่อนจะทำได้เร็วกว่าการเขียนข้อมูลไปที่เครื่องพิมพ์โดยตรง ซึ่งทำให้การทำงานสะดวกมากขึ้น โดยเฉพาะกับการพิมพ์งานพร้อมกันทีเดียวในสำนักงานทั่วไป เพราะสามารถจัดคิวเพื่อส่งพิมพ์ผลลัพธ์ได้ตามลำดับก่อนหลัง
10. ระบบ plug and play คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรต่อการทำงาน
ตอบ เป็นคุณสมบัติใหม่ที่เพิ่มเข้ามาในระบบปฏิบัติการบางตัว เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์อื่นได้ง่ายยิ่งขึ้น ผู้ใช้เพียงแค่เชื่อมต่ออุปกรณ์เหล่านั้นเข้ากับคอมพิวเตอร์ (plug) ก็สามารถใช้งานได้เลยทันที (play)
11. multi-processing คือการประมวลผลงานลักษณะใด มีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง จงอธิบายพอสังเขป
ตอบ เป็นการทำงานเพื่อให้ประมวลผลเร็วขึ้น โดยใช้ซีพียูที่มากกว่าหนึ่งตัวเข้ามาทำงานร่วมกัน ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้หลายๆคำสั่งงานในเวลาเดียวกัน โดยที่ระบบปฏิบัติการจะทำหน้าที่เป็นตัวประสานการทำงานของซีพียูที่มากกว่าหนึ่งตัวนี้ให้ทำงานด้วยกันได้เป็นอย่างดี และถึงแม้ซีพียูตัวใดตัวหนึ่งเสีย ก็ยังสามารถทำงานแทนกันได้

ที่มา หนังสือ   ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

บทที4ฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง

สรุป
ฮาร์ดแวร์เป็นอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์  มีทั้งที่ติดตั้งอยู่ภายในและภายนอกตัวเครื่อง สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล อุปกรณ์ประมวลผล หน่วยเก็บข้อมูลสำรองและอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์การจัดเก็บข้อมูลด้วยเสื่อเก็บแบบจานแม่เหล็กที่ควรรู้จักคือ  แทรค ซึ่งเป็นพื้นที่เก็บข้อมูลที่แบ่งออกเป็นส่วนตามแนวเส้นรอบวงกลม และเซกเตอร์ ซึ่งเป็นการแบ่งแทรคออกเป็นส่วนๆ

แบบฝึกหัดท้ายบทที่4
1.คีย์บอร์ดแบบเออร์โกโนมิกส์ ช่วยลดปัญหาในการทำงานกับคอมพิวเตอร์ได้อย่างไร จงยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ ช่วยลดปัญหาในเรื่องการบาดเจ็บของข้อมือได้เป็นอย่างดี เนื่องจากการป้อนข้อมูลเป็นเวลานานๆอาจจะทำให้เกิดความเมื่อยล้าจากการพิมพ์จนถึงการบาดเจ็บจากเส้นเอ็นอักเสบได้ เช่น เพิ่มอุปกรณ์สำหรับวางมือและออกแบบทิศทางการจัดวางแป้นพิมพ์ให้สัมพันธ์กับสรีระของมนุษย์มากขึ้น
2. ออปติคอลเมาส์มีหลักการทำงานแตกต่างจากเมาส์แบบทั่วไปอย่างไร
ตอบ การใช้เมาส์แบบทั่วไปจะใช้ลูกบอล  ออปติคอลเมาส์ หรือเมาส์แบบแสง จะทำงานโดยไม่ต้องใช้ล้อหมุนแต่ใช้แสงส่องไปกระทบพื้นผิวด้านล่าง วงจรจะวิเคราะห์แสงสะท้อนที่เปลี่ยนไปเมื่อเลื่อนเมาส์และเปลี่ยนทิศทางเป็นการชี้ตำแหน่ง
3. OMR คืออะไร จงอธิบายพร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบของลักษณะงานที่นำไปใช้
ตอบ เป็นเครื่องที่นำไปใช้ประโยชน์ในการตรวจข้อสอบหรือคะแนนของกลุ่มบุคคลจำนวนมาก เช่น การสอบเอ็นทรานซ์ การสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ  โดยจะอ่านเครื่องหมาย mark ที่ผุ้เข้าสอบได้ระบายไว้ในกระดาษคำตอบ
 4. อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ถือว่าเป็น หัวใจหลักของเครื่องพีซีทุกเครื่อง คืออุปกรณ์ใด เหตุใดจึงเรียกเช่นนั้น
ตอบ เมนบอร์ด เพราะความสามารถของเครื่องว่าจะใช้ซีพียูอะไรได้บ้าง มีประสิทธิภาพเพียงใดสามารถรองรับกับอุปกรณ์ใหม่ได้หรือไม่ ล้วนแล้วแต่ขึ้นอยู่กับเมนบอร์ดที่เลือกใช้ บางครั้งเรียกว่า แผงวงจรหลัก ภายในแผงวงจรจะมีเส้นทองแดงเป็นชุด เรียกว่า บัส เพื่อใช้ส่งสัญญาณไฟฟ้าระหว่างอุปกรณ์ต่างๆภายในตัวเครื่องให้สามารถทำงานร่วมกันได
5. หน่วยเก็บข้อมูลสำรองแบ่งได้เป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง จงยกตัวอย่างมาประเภทละ 2 รายการ
  ตอบ  สามารถแบ่งออกได้เป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 4 ประเภทดังนี้
                 - แบบจานแม่เหล็ก เป็นอุปกรณ์สำรองข้อมูลที่เป็นลักษณะของจานแม่เหล็กสำหรับบันทึกข้อมูลไว้ภายใน (disk) ได้รับความนิยมและใช้งานมานานพอสมควร ที่รู้จักกันดี เช่น ฟล็อปปีดิสก์และฮาร์ดดิสก์
                   - แบบแสง  เป็นสื่อเก็บข้อมูลสำรองที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน โดยใช้หลักการทำงานของแสง การจัดเก็บข้อมูลจะคล้ายกับแผ่นจานแม่เหล็กต่างกันที่การแบ่งจะเป็นรูปก้นหอยและเริ่มเก็บบันทึกข้อมูลจากส่วนด้านในออกมาด้านนอก ที่เป็นที่นิยมและรู้จักกันดี เช่น CD และ DVDเป็นต้น
                 -  แบบเทป เป็นสื่อเก็บข้อมูลที่สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมากและเข้าถึงข้อมูลแบบเรียงลำ
ดับต่อเนื่องกันไป มีการผลิตขึ้นมาหลายขนาดแตกต่างกันไป เช่น DAT และ QIC เป็นต้น
               - แบบอื่นๆ  เป็นสื่อเก็บข้อมูลแบบใหม่ที่พบเห็นได้ทั่วไปในปัจจุบัน มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น flash drive,thumb drive หรือ handy driveเป็นต้น อีกชนิดหนึ่งอาจพบเห็นในรูปของแผ่น memory card เพื่อใช้สำหรับจัดเก็บข้อมูลประเภทภาพถ่ายหรือข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ในอุปกรณ์ดิจิตอลแบบพกพาทั้งหลาย เช่น กล้องถ่ายรูปดิจิตอล เป็นต้น
6. แทรคและเซกเตอร์ในสื่อเก็บข้อมูลจานแม่เหล็กคืออะไร
   ตอบ  พื้นที่เก็บข้อมูลบนแผ่นจานแม่เหล็ก โดยที่แทรคจะเป็นลักษณะของพื้นที่แนววงกลมรอบๆแผ่นจาน จะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดและประเภทของจานแม่เหล็กนั้นด้วย ซึ่งแผ่นแต่ละแผ่นจะมีความหนาแน่นของสารแม่เหล็กแตกต่างกันทำให้ปริมาณความจุจึงต่างกันด้วย ส่วนเซกเตอร์นั้น เป็นส่วนของแทรคที่แบ่งย่อยออกมาเป็นส่วนๆ หากเปรียบเทียบแผ่นจานแม่เหล็กเป็นคอนโดมิเนียมหลังหนึ่งแล้วเซกเตอร์ก็เปรียบเหมือนกับห้องพักที่แบ่งให้คนอยู่เป็นห้องๆนั่นเอง
7. แผ่นดิสก์เก็ตต์แผ่นหนึ่งเก็บข้อมูลได้ 2 ด้าน แต่ละด้านมี 80 แทรค แต่ละแทรคแบ่งได้ 9 เซกเตอร์ และแต่ละเซกเตอร์สามารถเก็บข้อมูลได้มากถึง512 ไบต์ จงคำนวณหาความจุของแผ่นนี้
      ตอบ   ความจุของแผ่นดิสก์เก็ตแผ่นนี้ สามารถคำนวณหาได้ดังนี้
                ความจุของแผ่นดิสก์เก็ต  = 2 X 80 X 9 X 512 bytes
                                                             = 737,280 bytes
                                                             = 720 KiB (737,280/1024)
                                                    หรือ = 737.28 KB (737,280/1000)
8. ดิสเก็ตต์และฮาร์ดดิสก์ มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ ดิสเก็ตต์ เก็บข้อมูลไดน้อย ราคาค่อนข้างถูก หัวอ่านข้อมูลสัมผัสกับแผ่นจานทุกครั้งที่อ่านหรือเขียนข้อมูลลงบนแผ่น การเข้าถึงข้อมูลทำได้ช้า ฮาร์ดีสก์ เก็บข้อมูลได้มาก ราคาค่อนข้างสูง หัวอ่านข้อมูลมาสัมผัสกับแผ่นจาน จึงไม่สึกหราเท่ากับดิสเก็ตต์ การเข้าถึงข้อมูลหัวอ่านทำงานเร็ว และแผ่นก็หมุนเร็วมาก
9. สื่อเก็บข้อมูลประเภท CD และ DVD มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
  ตอบ  สื่อเก็บข้อมูลแบบ CD จะเหมาะกับการเก็บข้อมูลทั่วไป เช่น ข้อมูลไฟล์การทำงาน ข้อมูลโปรแกรมเพื่อใช้งาน รวมถึงบันทึกเสียงเพลง ส่วนแบบ DVD จะมีคุณสมบัติที่ดีกว่าคือ เก็บข้อมูลได้เยอะมากยิ่งขึ้น สามารถจุมากสุดได้ถึง 17 GB จึงเหมาะสมกับการเก็บข้อมูลงานทางด้านมัลติมีเดียเพื่อให้เกิดความสมจริงของทั้งภาพและเสียงมากที่สุดนั่นเอง
10.Point Of Sale คืออะไร
  ตอบ  จุดบริการขายที่มักพบตามห้างสรรพสินค้า ร้านค้าสะดวกซื้อทั่วไป โดยผู้ซื้อสามารถนำสินค้ามาชำระเงินยังจุดบริการขายนี้ได้ทันทีซึ่งระบบจะมีการจัดการเกี่ยวกับรายการซื้อขายเองโดยอัตโนมัติ
11. งานเกี่ยวกับการออกใบเสร็จรับเงิน การออกใบกำกับภาษีที่ต้องมีสำเนาหลายใบ ควรใช้เครื่องพิมพ์แบบใดเครื่องดังกล่าวมีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง
  ตอบ   ควรใช้เครื่องพิมพ์แบบดอทเมตริกซ์ เนื่องจากลักษณะงานคือการพิมพ์สำเนาหลายๆแผ่นในครั้งเดียวคุณสมบัติของเครื่องพิมพ์แบบนี้จะมีความเหมาะสมต่อการใช้งานแบบนี้มากอีกทั้งยังช่วยให้ประหยัดเวลาและสะดวกกว่าที่จะใช้เครื่องพิมพ์แบบอื่นเพื่อพิมพ์ครั้งละแผ่น หลักการทำงานจะอาศัยหัวเข็มพิมพ์กระทบลงไปที่ตัวกระดาษโดยตรง เมื่อใช้กระดาษสำเนาซ้อนทับจึงให้ได้ผลลัพธ์ออกมาเหมือนกับแผ่นต้นฉบับ
12. เครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ตและแบบเลเซอร์ แตกต่างกันอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
    ตอบ  เครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ตอาศัยหลักการพิมพ์โดยใช้ผงหมึกพ่นลงไปบนกระดาษ มีทั้งหมึกสีและขาวดำ เหมาะกับงานพิมพ์เอกสารที่ต้องการความสวยงาม เช่น ภาพถ่าย โปสการ์ด ปฎิทินหรือพิมพ์บนกระดาษแบบพิเศษแล้วนำไปติดกับเสื้อผ้าหรือแก้วกาแฟ ส่วนเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ราคาอาจแพงกว่าเนื่องจากให้ความคมชัดได้ดี หลักการทำงานจะอาศัยแสงเลเซอร์ยิงตกลงไปบนกระดาษ คล้ายกับการทำงานของเครื่องถ่ายเอกสาร แต่มีข้อเสียคือไม่สามารถพิมพ์เอกสารที่เป็นแบบสำเนาได้ ปัจจุบันมีทั้งที่เป็นแบบสีและขาวดำ

ที่มา หนังสือ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัดที่3

แบบฝึกหัดท้ายบทที่3
1.ซอฟต์แวร์ประยุกต์เกี่ยวข้องกับระบบปฏิบัติการอย่างไร จงอธิบาย 
ตอบ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ หรือ application software จะถูกติดตั้งและทำงานบนระบบปฏิบัติการเพื่อให้สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้ มีทั้งประเภทสามารถหาซื้อมาใช้ได้เองตามท้องตลาดและพัฒนาขึ้นมาใช้ได้เองเฉพาะกรณี    
2.ระบบปฏิบัติการโดยทั่้วไปมีกี่ประเภท จงอธิบาย ยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ      มี  ประเภท
             1. ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว-มุ่งเน้นให้บริการผู้ใช้เพียงคนเดียว นิยมใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานแบบทั่วไป เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ตามบ้านหรือสำนักงาน ซึ่งจะถูกติดตั้งระบบปฏิบัติการนี้ไว้รองรับการทำงานบางอย่าง เช่น พิมพ์งานดูหนัง ฟังเพลง เป็นต้นนิยมใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประมวลผลและการทำงานแบบทั่วไป
             2. ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย- มุ้งเน้นการให้บริการกับผู้ใช้หลายๆ คนนิยมใช้สำหรับการประมวลผลงานข้อมูลสำหรับ เครือข่ายโดยเฉพาะ มักพบเห็นได้กับการนำไปใช้ในองค์กรธุรกิจทั่วไป เครื่องคอมฯที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการเหล่านี้จะเรียกว่า เครื่องแม่ข่ายนิยมใช้สำหรัีบงานให้บริการผลข้อมูล
              3. ระบบปฏิบัติการแบบฝัง- พบเห็นได้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก เช่น พีดีเออ หรือ สมาร์ทโฟน บางรุ่นสามารถช่วยในการทำงานแบบเคลื่อนที่ได้ดี เป็นระบบที่เกิดขึ้นมาหลังสุด บางรุ่นระบบมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว เช่น รองรับการทำงานทั่วไป ดูหนัง ฟังเพลง
 3. ระบบปฏิบัติการแบบฝัง(Embedded OS )คืออะไร นิยมใช้กับอุปกรณ์ประเภทใด จงอธิบาย
ตอบ.     เป็นระบบปฏิบัติการชนิดหนึ่งที่ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับกับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร เฉพาะอย่างยิ่งกับอุปกรณ์ประเภทสมาร์ทโฟน ซึ่งเป็นโทรศัพท์ที่มีความสามารถ หลากหลาย ไม่ใช่โทรเข้า-ออกได้แต่เพียงอย่างเดียว ยังสามารถ ดูหนัง ฟังเพลง ท่องเว็บรับอีเมล์และรับส่งแฟกซ์ได้ในเวลาเดียวกันอีกด้วยรองรับกับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สายwireless โดยเฉพาะสนับสนุนการทำงานแบบหลาย ๆ งานในเวลาเดียวกัน
 4.โปรแกรมป้องกันไวรัส มีความสำคัญอย่างไรบ้าง
ตอบ  เป็นโปรแกรมยูทิลิตี้ชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดีซึ่งจะทำหน้าที่เป็นเสมือนยามคอยตรวจสอบดูแลระบบทั่วไปว่ามีปัญหาใดๆ เกิดขึ้นหรือไม่ ถ้ามีโปรแกรมนี้มันก็จะฟ้องขึ้น เราก็สามารถลบทิ้งได้ทันที เพื่อความราบรื่นในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์
 5. นายอภิชาติต้องการเก็บข้อมูลไฟล์หลายๆไฟล์ เป็นอันเดียวกันและให้มีขนาดที่เล็กลง ควรจะใช้โปรแกรมประเภทใด จงอธิบาย 
ตอบ  โปรแกรมบีบอัดไฟล์ (File Compression Utility)เป็นลักษณะของโปรแกรมที่ทำหน้าที่บีบอัดไฟล์ให้มีขนาดเล็กลงนั้นเอง ไฟล์ที่ได้จากการบีบอัดไฟล์นี้บางครั้งนิยมเรียกว่า ซิปไฟล์( zip files ) ตัวอย่างของยูทิลิตี้ที่นิยมใช้และรู้จักกันเป็นอย่างดี เช่น PKZip, Winzip เป็นต้น และแม้ในตัว Windows XP เองก็มีความสามารถในการบีบอัดไฟล์ระดับหนึ่งอยู่แล้ว เรียกว่าเป็น Compressed Folder 

6. 
ซอฟต์แวร์กลุ่มการใช้งานด้านธุรกิจประเภท Word Processing ที่นักศึกษารู้จักมีอะไรบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ โปรแกรม
ตอบ           - Microsoft Office
                   - Microsoft Word
                   - Sun Star Office Writer

7. ซอฟต์แวร์แบบกลุ่ม (Software Suite) คืออะไร
ตอบ    เป็นซอฟต์แวร์ที่นำเอาคุณสมบัติต่าง ๆของโปรแกรมแต่ละตัวมาอยู่ในกลุ่มเดียวกันแล้วทำการจำหน่ายรวมทีเดียวซอฟต์แวร์ที่เรารู้จักกันดี เช่น Microsoft Office ข้อดีของการจัดทำซอฟต์แวร์แบบนี้ก็คือทำให้การใช้งานมีความง่ายและคล่องตัวมากขึ้นอีกทั้งยังทำให้มีราคาถูกลงกว่าการเลือกซื้อซอฟต์แวร์แต่ละตัวมาใช้

8. นางสาวศิริพรต้องการทำรายงานการรับจ่ายเงินในแต่ละวันอย่างง่ายควรใช้โปรแกรมประเภทใด
ตอบ.       โปรแกรมประเภทตารางคำนวณในการคำนวณทั่วไปแล้วโปรแกรมตารางคำนวณ ยังมีความสามารถที่จะวิเคราะห์ข้อมูล เช่นการหาผลรวม การหาค่าที่สูงสุด การหาค่าที่ต่ำสุด รวมถึงการกรอกข้อมูลเฉพาะที่สนใจ และยังสามารถนำเอาข้อมูล ที่มีอยู่มาสร้างเป็นกราฟเพื่อให้บริหารสามารถมองเห็นภาพของข้อมูล ได้ชัดเจนขึ้น

9. Internet Relay Chat คืออะไร แตกต่างต่าง Instant Messaging อย่างไรบ้าง
ตอบ     Internet Relay Chat
          - โปรแกรมสำหรับการสนทนาเฉพาะกลุ่ม
          - เรียกสั้นๆว่าโปรแกรม แชท (chat)
          - ติดต่อกันโดยพิมพ์ข้อความโต้ตอบกันไปมา
          - ผู้สนทนาสามารถตั้งห้องและพูดคุยกันในแชทรูม (chat room) ได้
          - ตัวอย่างโปรแกรม เช่น PIRCH, MIRC Instant Messaging
          - ผู้รับและผู้ส่งสามารถที่จะเปิดการเชื่อมต่อโปรแกรมและส่งข้อความถึงกันได้โดยทันทีผ่านเบอร์อีเมล์หรือหมายเลขที่ระบุ
          - การพูดคุยผ่านข้อความนี้จะเป็นแบบส่วนตัวมากขึ้น
          - บางโปรแกรมอาจสนทนาแบบกลุ่มได้ด้วย
          - ตัวอย่างโปรแกรม เช่น ICQ , MSN Messenger, Yahoo Messenger

10. โปรแกรมประเภทการนำเสนองาน เหมาะสมกับกลุ่มคนประเภทใด จงให้เหตุผลประกอบ
ตอบ   เหมาะกับกลุ่มคนที่ใช้งานทางด้านธุรกิจ (Business) เพราะโปรแกรมประเภทการนำเสนองานจะเน้นการใช้งานทางด้านธุรกิจโดยเฉพาะโดยมุ่งหวังให้การทำงานมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นกว่าการใช้แรงงานคน

11. ในการเรียกค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โปรแกรมใดที่นิยมเอาใช้มากที่สุดและมีคุณสมบัติเด่นๆอะไรบ้าง
ตอบ  โปรแกรม Microsoft Internet Explorer
12. จงยกตัวอย่าง web application ที่นักศึกษารู้จักหรือใช้บริการอยู่ในปัจจุบันมาอย่างน้อย 3 รายการพร้อมทั้งอธิบายหลักการทำงานด้วย
ตอบ    www.google.co.th
ทาง google จะส่งเจ้าโปรแกรมที่ชื่อสไปเดอร์ (spider หรืออีกชื่อคือ web crawler) ซึ่งเป็นโรบอต (robot)สรุปแล้วมันก็โปรแกรมตัวเดียวกันใช่ไหมครับแต่มีชื่อเรียกหลายชื่อ สไปเดอร์จะถูกส่งไปตามเว็บไซต์ โดยวิ่งไปตามลิงค์ต่าง ๆ ของแต่ละเว็บไซต์ เพื่อไปยังอีกเว็บไซต์หนึ่ง และเมื่อครบระยะเวลาหนึ่ง สไปเดอร์จะทำการประมวลผล เพื่อจัดลำดับในการแสดงผลโดยใช้ระบบเฉพาะของทางกูเกิลเอง ซึ่งระบบจัดอันดับความเกี่ยวข้องของเว็บเพจแต่ละหน้าของกูเกิลเรียกว่า "เพจแรงก์" (PageRank
www.facebook.com
Facebook ก็คือ Soical Networking เว็บไซต์หนึ่งที่มีผู้นิยมใช้งานกันมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เพียงแค่เราสมัครเป็นสมาชิกกับ Facebook เราก็จะสามารถแบ่งปันข้อมูล รูปภาพ ความรู้สึกผ่านทางหน้าเว็บไซต์ของ Facebook ได้ และที่สำคัญมากที่เป็นจุดประสงค์หลักของ Facebook ก็คือ การหาเพื่อนเก่าผ่านทางFacebook และสามารถหาเพื่อนใหม่ๆ ได้จากทุกมุมโลกเช่นกันแต่ดูเหมือนว่า Facebook จะมีหลักการเช่นเดียวกันการบันทึกลง "หนังสือรุ่น" นั่นเอง แต่แน่นอน เนื่องจากเป็นเว็บไซต์ Facebook จึงทำอะไรๆ ได้มากมายก็ หนังสือรุ่นธรรมดา..
www.Twitter.com
เป็นบริการส่งข้อความเป็นประโยคสั้นๆ ที่คุณส่งไปนั้นจะเป็นการบอกว่า คุณ กำลังทำอะไรอยู่ในตอนนั้น เพื่อเป็นบันทึก ณ. ช่วงเวลานั้นว่าคุณทำอะไรอยู่ ลงไปในเว็บไซต์ของ Twitter.com เช่น "กำลังจะกินข้าว" "กำลังจะออกจากบ้าน" เป็นต้น และเมื่อคุณส่งประโยคสั้นๆ ไปเรื่อยๆ ในช่วงเวลาที่คุณมีเวลา และสามารถทำได้ เมื่อกลับมาอ่านมัน ข้อความทั้งหมด มันจะก็จะสามารถประติดประต่อ บอกเรื่องราวว่าคุณทำอะไรไปบ้างช่วงวันหนึ่งๆ ซึ่งจะสะดวกกว่าการ มานั่งหลังคดหลังแข็งมานั่งเขียนบล็อก ทั้งวัน นี้แหละที่ Twitter.com เลยเข้ามาทดแทนและช่วยให้คนไม่ชอบเขียน บล็อก หันมาใช้บริการพวกนี้เยอะมากขึ้น

13. ผู้ที่ทำงานด้านออกแบบและจัดการ website เช่น webmaster ควรจะเลือกใช้โปรแกรมอะไรบ้างเพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนในการทำงาน
ตอบ   โปรแกรม Macromedia Dream weaver

14. ซอฟต์แวร์ประเภท Open Source คืออะไร
ตอบ    เป็นซอฟต์แวร์ที่มีการเปิดให้แก้ไขปรับปรุงตัวโปรแกรมต่าง ๆ ได้เองและยังไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ใด ๆ ด้วยเรียกซอฟต์แวร์กลุ่มนี้ว่าโอเพ่นซอร์ส ผู้ใช้งานสามารถที่จะนำเอาโค้ดต่าง ๆไปพัฒนาและประยุกต์ใช้ได้ตามความต้องการได้ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดหรือระบุไว้ของผู้ผลิตดั่งเดิม

15. ภาษาระดับสูงมาก หรือ very-high level language มีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง
ตอบ   เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ยุคที่ 4 เป็นการเขียนโดยอาศัยหลักการแบบที่ไม่เป็นลำดับขั้นตอนที่แน่นอนอาจใช้เพียงแค่การหยิบและวางปุ่มคำสั่งบางอันลงไปโดยที่ผู้เขียนโปรแกรมจะรู้เพียงแค่ว่าจะให้คอมพิวเตอร์ทำอะไรบ้างเท่านั้นไม่จำเป็นต้องทราบว่ามันจะทำได้อย่างไร เพราะเป็นหน้าที่ของภาษาระดับสูงมากผู้ที่เขียนโปรแกรมสามารถเขียนได้ง่ายขึ้นได้ใช้เพียงไม่กี่คำสั่งเพื่อคอยควบคุมเท่านั้น เพราะคำสั่งหรือรูปแบบหลัก ๆ จะถูกสร้างมาเลยทันทีเมื่อเขียนแล้วจะได้รูปแบบโปรแกรมที่มีความสมบูรณ์และสวยงามมากยิ่งขึ้น

16. จงยกตัวอย่างของการนำเอาภาษาคอมพิวเตอร์ยุคที่ 5 ไปใช้งาน มาอย่างน้อย 2 ตัวอย่างพร้อมทั้งอธิบายประกอบ
ตอบ.    ในยุคนี้เป็นการใช้ภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษามนุษย์มากขึ้นไปอีกหรือเรียกว่าภาษาธรรมชาติจะทำงานโดยอาศัยระบบฐานความรู้ เพื่อช่วยในการแปลความหมายของคำสั่งต่าง ๆและทำให้คอมพิวเตอร์เข้าใจและจดจำโครงสร้างไว้นิยมใช้กับคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับสาขาปัญญาประดิษฐ์ เช่นการพัฒนาความรู้และการจำในหุ่นยนต์ การสั่งงานโปรแกรมด้วยเสียง เพิ่มความสามารถ และ สะดวกสบายยิ่งขึ้น


วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ความแตกต่างของThumb drive ,Flash Drive ,Handy drive



ความแตกต่างกันของ  Thumb drive ,Flash Drive ,Handy drive

ที่มาคำว่า Thumb drive
  Thumb drive เป็นชื่อทางการค้า คุณสมบัติเหมือน CD-R, Floppy Disk, Hard Disk เป็นหน่วยความจำ ที่เสริมเข้าไปในคอมพิวเตอร์ทาง Port USB และถือเป็นการเก็บข้อมูลรูปแบบใหม่ คือไม่ต้องมีตัว Drive ตัว Disk พกพาได้สะดวกมีขนาดเล็กเท่ากับหัวแม่มือ เป็นยุคแรกๆ ของอุปกรณ์จำพวก Flash Drive ความเร็วในการอ่าน เขียน ประมาณ 500KB/Sec มีความจุอยู่ระหว่าง 8 MB - 1024MB ในปัจจุบันอาจมีมากขึ้น สำหรับราคาในยุคแรกๆ ราคาสูง ขนาดความจุน้อย


ที่มาคำว่า Flash Drive
  Flash Drive มีชื่อจริงว่า USB Mass Storage Device ส่วนใหญ่เรียกกันว่า USB Flash Memory Drive , USB Flash Drive Memory หรือ USB Flash Drive การใช้งานเชื่อมต่อกับ Computer ผ่านทาง Port USB ใช้ Flash Memory เก็บข้อมูล ทำงานเป็น Drive เหมือน HardDisk อ่านและบันทึกข้อมูลได้อย่างเดียวไม่สามารถทำอย่างอื่นได้ ซึ่งเป็นยุคต่อมาจาก Thumb drives ราคาถูกลง ความจุมีมากขึ้น ขนาดของตัว Flash Drive เล็กลงด้วย บางยี่ห้อมีขนาดประมาณ 1 นิ้ว


ที่มาคำว่า Handy drive เป็นชื่อทางการค้า คุณสมบัติและการทำงานเหมือน Flash drive แต่ที่เพิ่มขึ้นมาคือสามารถเล่นไฟล์ Mp3 ไฟล์วีดีโอ ไฟล์รูปภาพ ฟังวิทยุผ่านช่องเสียบหูฟัง และฟังก์ชันอื่นๆ ที่ผู้ผลิตจะใส่ลงไป ใช้แบตเตอรี่มีทั้งแบบใช้ถ่าน AA , AAA หรือถ่านชาตร์ ซึ่งจะชาตร์ถ่านผ่านทาง Port USB รูปลักษณ์สวยงาม แต่มีขนาดใหญ่กว่า Flash drive เนื่องจากต้องใช้แบตเตอรี่ สำหรับราคาแพงกว่า Flash drive อยู่บ้างเหมาะกับผู้ที่ต้องการใช้งานที่หลากหลาย


ข้อมูลจาก <<Sarutobi>>