วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556

งานคั้งที่1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

สรุป ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิเตอร์
จากการเรียนบทที่1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ทำให้เรารู้คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์ คือ คอมพิวเตอร์มีความเป็นอัตโนมัติ ความเร็ว ความถูกต้อง แม่นยำ ความน่าเชื่อถือ การจัดเก็บข้อมูล การทำงานซ้ำๆได้ การติดต่อสื่อสาร รู้วิวัฒนาการก่อนจะมาเป็นคอมพิวเตอร์แต่ละยุคต่างๆ คอมพิวเตอร์มีประโยชน์มากต่อการใช้งานตามสายงานต่างๆ คอมพิวเตอร์กับการใช้งานภาครัฐ  ด้านธุรกิจทั่วไป งานสายการบิน ด้านการศึกษา ธุรกิจการนำเข้าและส่งออกสินค้า ธุรกิจธนาคารและด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์ เป็นต้น
แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 1
1.ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ    ความเป็นอัตโนมัติ (Self Acting) คอมพิวเตอร์ได้มีการประดิษฐ์ขึ้นด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ดังนั้นการประมวลผลจึงมีการทำงานแบบอัตโนมัติภายใต้คำสั่งที่ถูกกำหนดไว้

 ความเร็ว (speed) คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนี้สามารถทำงานได้ถึงร้อยล้านคำสั่งในหนึ่งวินาที
ความเชื่อถือ (reliable) คอมพิวเตอร์ทุกวันนี้จะทำงานได้ทั้งกลางวันและกลางคืนอย่างไม่มีข้อผิดพลาด และไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย

ความถูกต้องแม่นยำ (accurate) วงจรคอมพิวเตอร์นั้นจะให้ผลของการคำนวณที่ถูกต้องเสมอหากผลของการคำนวณผิดจากที่ควรจะเป็น มักเกิดจากความผิดพลาดของโปรแกรมหรือข้อมูลที่เข้าสู่โปรแกรม

เก็บข้อมูลจำนวนมาก ๆ ได้ (store massive amounts of information) ไมโครคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน จะมีที่เก็บข้อมูลสำรองที่มีความสูงมากกว่าหนึ่งพันล้านตัวอักษร และสำหรับระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่จะสามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าหนึ่งล้าน ๆ ตัวอักษร
     ทำงานซ้ำๆได้ (Repeatability) คอมพิวเตอร์สามารถคำณวนหาผลลัพธ์ได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะงานที่มีลักษณะซ้ำๆแบบเดิม เช่น การบันทึกรายการบัญชีประจำวัน การลงรายการสินค้าเข้า-ออก เป็นต้น

ย้ายข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกทีหนึ่งได้อย่างรวดเร็ว (move information) โดยใช้การติดต่อสื่อสารผ่านระบบ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถส่งพจนานุกรมหนึ่งเล่มในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ไกลคนซีกโลกได้ในเวลาเพียงไม่ถึงหนึ่งวินาที ทำให้มีการเรียกเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมกันทั่วโลกในปัจจุบันว่า ทางด่วนสารสนเทศ (Information Superhighway)
ผู้ที่สนใจศึกษาทางด้านคอมพิวเตอร์ จะต้องศึกษาหลักการทำงานพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ รวมทั้งจะต้องศึกษาถึงผลกระทบจากคอมพิวเตอร์ต่อสังคมในวันนี้ ทั้งในแง่บวกและแง่ลบ โดยในแง่บวกนั้นจะมองเห็นได้ง่ายจากสภาพแวดล้อมทั่วไป นั่นคือทำให้สามารถทำงานต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วขึ้น เริ่มตั้งแต่การจัดเก็บเอกสาร การพิมพ์จดหมาย การจัดทำหนังสือพิมพ์และวารสารต่าง ๆ การฝาก - ถอนเงินในธนาคาร การจ่างเงินซื้อสินค้า ตรวจความผิดปกติของทารกในครรภ์ และในทางการแพทย์อื่น ๆ อีกมากมาย

2. เครื่อง SUAN-PAN เกี่ยวข้องกับประวัติของคอมพิวเตอร์ อย่างไร จงอธิบาย
ตอบ เครื่อง SUAN-PAN คือลูกคิดที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยชาวจีน เป็นเครื่องมือเพื่อเอาไว้สำหรับช่วยในการนับทำได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น

3. แท่งคำนวณของเนเปียร์(Napier's bone) สร้างขึ้นมาโดยใคร และมีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง
ตอบ. จอห์น เนเปียร์
การทำงานของ Napier’s Bone เมื่อต้องการคูณตัวเลขใด ๆ ก็จะเอาตัวเลขนั้น ๆ มาเรียงต่อกัน เช่น ต้องการเลข 46732 ก็จะนำเอาแท่งตัวเลข 4 6 7 3 และ 2 มาวางเรียงต่อกัน แล้วใช้แท่งดรรชนี ( Index) ซึ่งเป็นแท่งหลักที่ใช้ในการหาผลลัพธ์จากการคำนวณมาไว้ด้านหน้า จากนั้นนำมาเทียบเคียงให้ตรงกับตัวเลขนั้น ๆ แล้วทำการคูณและหาผลลัพธ์ได้เลย เช่น ต้องการคูณตัวเลข 46732 ด้วยเลข 3 ก็สามารถหาผลลัพธ์ได้
4. ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็น "บิดาของคอมพิวเตอร์" คือใคร และเหตุใดจึงได้รับการยกย่องเช่นนั้น
ตอบ. ชาร์ลส แบบเบจ (Charles Babbage)"เนื่องจากเขาเป็นผู้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการสร้างเครื่องจักรกลให้สามารถ ทำงานตามคำสั่งได้โดยไม่ต้องมานั่งคำนวณหาผลลัพธ์ใหม่อีกครั้งและได้อาศัยองค์ประกอบในการทำงานที่แบ่งออกเป็นส่วนๆ เสมือนกับต้นแบบของเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบัน
5.เครื่องคอมพิวเตอร์แบบดิจิตอลเครื่องแรกของโลกคือเครื่องใด และจงอธิบายว่าสร้างขึ้นมาด้วยเหตุผลใด
ตอบ. ENIAC ถือว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบดิจิตอลเครื่องแรกของโลก สร้างขึ้นเพื่อการช่วยคำนวณวิถีกระสุนปืนใหญ่ของกองทัพสหรัฐอเมริกาในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2

6. John Von Neumann มีบทบาทอย่างไรเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของคอมพิวเตอร์
ตอบ. เขาเป็นผู้เสนอแนวคิดและเผยแพร่ร่วมกับมอชลีและเอิคเคิร์ท ให้มีการพัฒนาเครื่องที่สามารถเก็บข้อมูลเละชุดคำสั่งไว้ภายในได้เอง โดยไม่ต้องมาคอยป้อนข้อมูลเข้าไปใหม่ทุกครั้งซึ่งมันจะทำให้เสียเวลาในการทำงานอย่างมาก

7.เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่ใช้ในเชิงธุรกิจ คือเครื่องใด และนำมาใช้กับงานด้านใด
ตอบ. เครื่อง UNIVAC นำมาใช้สำหรับทำนายผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนที่ 34 ของสหรัฐอเมริกาและมีความเร็วในการทำงานสูงกว่าคอมพิวเตอร์ที่ผลิตก่อนหน้านี้และยังสามารถเก็บตัวเลขหรือตัวอักษรไว้ในหน่วยความจำได้ถึง 12,000 ตัว

8.ทรานซิสเตอร์กับแผงวงจรรวม เหมือนหรือต่างกันอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ.  เหมือนกัน เพราะเป็นอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็กกว่าหลอดสุญญากาศมาก นอกกจากนี้ยังใช้กระแสไฟฟ้าน้อยกว่า และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน แต่ก็ยังมีต่างกันบ้างในเรื่องของหน่วยความจำ การทำงาน ความจุของข้อมูล
 9.E-Government คืออะไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ. เป็นการนำเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาประยุกต์ใช้กับงานทะเบียนราษฎร์ของภาครัฐบาล เช่น แจ้งเกิด ตาย ย้ายที่อยู่ เปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนตัวอื่นๆหรือทำบัตรประจำตัวประชาชน ตัวอย่างเช่น กรมทรัพยากร เปิดให้บริการยื่นแบบเสียภาษีผ่านอินเตอร์เน็ตสำหรับประชาชนทั่วไป(E-Revenue) ซึ่งแต่เดิมต้องเสียเวลามากแต่ปัจจุบันสามารถที่จะผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตแล้วทำรายการต่างๆได้ภายในไม่กี่นาที
10.สายการบินต้นทุนต่ำ (low cost airline) และมีการลดต้นทุนโดนนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยได้อย่างไ
ตอบ. เป็นสายการบินรูปแบบหนึ่งที่เน้นการลดต้นทุนในการจัดการและบริหารงานให้น้อยที่สุดเพื่อให้ สามารถแข่งขันกันในเรื่องราคาตั๋วโดยสารให้มีราคาที่ถูกลง จึงทำให้มีคนนิยมใช้บริการจำนวนมาก โดยนำเอาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีอันทันสมัยมาช่วยในเรื่องของการสำรองที่นั่ง การรับจองการเดินทาง โดยไม่ใช้แรงงานคนนั้นเอง อาจจะผ่านช่องทางหลายๆ ช่องทาง เช่น โทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต โดยไม่จำเป็นต้องออกตั๋วเป็นใบๆให้กับลูกค้า เพียงแค่แสดงบัตรใดๆที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ก็สามารถเดินทางได้ทันที
11.ลักษณะเด่นของสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือ CAI คืออะไร แตกต่างอย่างไรกับสื่อการสอนในอคีต
ตอบ. Computer Assiste Instruction เป็นสื่อการสอนรูปแบบใหม่ที่นำเอาความสามารถของคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีอื่นๆมาสร้างให้อยู่ในรูปแบบของสื่อมัลติมีเดียที่ประกอบด้วย รูปภาพ บทบรรยาย เสียงพูดและเทคนิคการนำเสนอต่างๆ ให้มีความน่าสนใจและก่อให้เกิดการอยากเรียนมากขึ้น นอกจากนี้ก็เพื่อให้ผู้เรียนฝึกทบทวนบทเรียนได้ด้วยตนเองถ้าหากเรียนแล้วไม่เข้าใจก็สามารถเรียนหรือฝึกฝนทบทวนซ้ำเองได้อีก และผู้เรียนที่อยู่ห่างไกลหรือไม่สะดวกในการเข้าเรียนก็สามารถศึกษาในระบบดังกล่าวได้ ซึ่งสื่อแบบเดิมไม่สามารถทำได้
 12.   รูปแบบของ E-banking สามารถ ทำได้ผ่านช่องทางอะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างมาประกอบอย่างน้อย 3 ช่องทาง
ตอบ.  ธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์ที่พบเห็นในปัจจุบัน สามารถทำธุรกรรมเกี่ยวกับการเงินได้หลายช่องทางมาก เช่น
      - ผ่านเครือข่ายอินเตอร์
การเข้าไปใช้ระบบ จะมีรายชื่อผู้ใช้( User name ) และรหัสผ่าน ( Pass Word ) ที่ให้ เข้าไปทำธุรกรรมได้ง่ายเพียงปลายนิ้ว บริการดังกล่าวครอบคลุมการทำธุรกรรมคล้ายกับระบบอื่น เช่น การโอนเงิน การสอบถามยอดเงินคงเหลือ ฯลฯ
       - ผ่านระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ
ผู้ใช้เพียงกดหมายเลขโทรศัพท์อัตโนมัติที่ธนาคารระบุไว้ในการติดต่อทำธุระกรรมก็สามารถเลือกทำรายการทางการเงินต่างๆ ได้เช่น การโอนเงิน การเติมเงินมือถือฯลฯ
      - ผ่านตู้ATM
ผู้ใช้บริการสามารถเลือกทำรายการธุรกรรมต่างๆ ผ่านตู้ATMที่มีให้บริการของธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ได้ทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการถอนเงินสด ฝากเงิน โอนเงิน และการชำระค่าบริการต่างๆ ได้ซึ่งเปิดให้บริการ24 ช.ม.
13.  คอมพิวเตอร์มือถือ (Handheld Computer) นำไปใช้ประโยชน์ในด้านใด และมีความแตกต่างกับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) อย่างไรบ้าง จงอธิบายประกอบ
ตอบ.  คอมพิวเตอร์แบบมือถือ เป็นอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว เหมาะสำหรับนำไปใช้งานกิจกรรมส่วนบุคคล เช่น บันทึกการนัดหมาย หรือการใช้ติดต่อทางธุรกิจ เช่น รับ-ส่งอีเมล์ ตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับตลาดหุ้น เป็นต้น แตกต่างจากไมโครคอมพิวเตอร์ืทั่วไป คือ มีขนาดที่เล็กลงและพกพาติดตัวได้สะดวกกว่า โปรแกรมที่ใช้ในไมโครคอมพิวเตอร์อาจนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์มือถือได้เช่นกัน แต่อาจตัดทอนคุณสมบัติบางอย่างลงไปบ้างเล็กน้อย
14.แท็บเล็ตพีซี (Tablet PC) มีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง จงอธิบายมาพอเข้าใจ
ตอบ. มีคุณสมบัติการทำงานใกล้เคียงกับคอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊คโดยทั่ไป แตกต่างกันที่ ผู้ใช้สามารถป้อนข้อมูลเข้าไปโดยการเขียนจอภาพเหมือนกับการเขียนข้อความลงไปในสมุดโน้ตและเครื่องสามารถที่จะแปลข้อมูลต่างๆเหล่านั้นเก็บไว้ได้
15. PDA Phone คืออะไร จงอธิบายมาพอเข้าใจ
ตอบ. เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กพกพาแบบใส่กระเป๋าได้เหมาะสำหรับใช้งานเป็นเครื่องบันทึกช่วยจำต่างๆ การสร้างรายการนัดหมาย ปฏิทิน สมุดโทรศัพท์ เป็นต้น
16.ภาษาธรรมชาติ(natural language) คืออะไร สามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านใดบ้าง
ตอบ. ภาษาธรรมชาติ คือ การนำเอาความสามารถของคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการสื่อสารกับมนุษย์ให้สะดวกขึ้น เช่น การใช้ระบบรับรู้และความจำเสียงพูดของมนุษย์ ซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถแยกแยะเสียงสูงต่ำและวิเคราะห์คำสั่งเสียงที่ได้รับและทำงานตามที่สั่งการได้เอง
ที่มา
วิโรจน์   ชัยมูล และสุพรรษา   ยองทอง.(2552).ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ      คอมพิวเตอร์.กรุงเทพมหานคร.       

                        โปรวิชั่น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น