แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 6
ข้อมูลและการจัดการข้อมูล
สรุป
ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงที่มีการรวบรวมไว้และมีความหมาย
อาจเกี่ยวข้องกับคน สิ่งของหรือเหตุการณ์อื่นๆในการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ แหล่งข้อมูลมี2ประเภท คือ
แหล่งข้อมูลภายใน และแหล่งข้อมูลภายนอก มีคุณสมบัติพื้นฐานประกอบด้วย ความถูกต้อง
มีความเป็นปัจจุบัน ตรงตามความต้องการ มีความสมบูรณ์และสามารถตรวจสอบได้
มีการจัดแบ่งข้อมูลออกเป็นลำดับชั้นเพื่อง่ายต่อการเรียกใช้ เช่น บิต ไบต์ ฟีลด์
เรคอร์ด ไฟล์ การจัดโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลมี
3 ลักษณะคือ แบบเรียงลำดับ แบบสุ่ม แบบลำดับเชิงดรรชนี ประเภทของแฟ้มข้อมูล มี2 ประเภทคือ
แฟ้มหลัก และแฟ้มรายการเปลี่ยนแปลง
1. คุณสมบัติของข้อมูลที่ดีประกอบด้วยอะไรบ้าง
จงอธิบาย
ตอบ คุณสมบัติพื้นฐานของข้อมูลที่ดี คือ
- ความถูกต้อง (accuracy) ข้อมูลที่จะนำมาใช้ในการประมวลผล
จำเป็นต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง
ตรงกับความเป็นจริงหรือถูกต้องตรงกันกับแหล่งข้อมูลนั้น
เพราะหากนำข้อมูลที่ผิดมาประมวลผล จะทำให้ได้สิ่งที่ต้องการผิดพลาดตามไปด้วย
- มีความเป็นปัจจุบัน (update) ข้อมูลซึ่งอยู่ช่วงเวลาหนึ่งในอดีต
อาจไม่สามารถนำมาใช้ได้กับอีกช่วงเวลาในปัจจุบันได้
การพิจารณาเลือกเอาข้อมูลที่ทันสมัยมาใช้ในการประมวลผลจะทำให้ได้ข้อมูลที่มีประโยชน์อย่างแท้จริง
- ตรงตามความต้องการ (relevance) ข้อมูลที่ถูกต้องตรงกับความต้องการของหน่วยงานมากที่สุด
ถือเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง ข้อมูลที่ถึงแม้จะถูกต้องมากแค่ไหนก็ตาม
แต่ไม่สอดคล้องกับความต้องการก็ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์หรือช่วยในการตัดสินใจใดๆได้
- ความสมบูรณ์ (complete) ข้อมูลที่จะนำมาประมวลผล
บางครั้งอาจมีการเก็บรวบรวมข้อมูลหลายๆครั้งเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์จริงๆ
ความสมบูรณ์นี้อาจหมายถึงข้อมูลนั้นต้องมีความครบถ้วนด้วย เช่น
ในระบบงานบุคลากรหากเราสนใจเพียงแค่ข้อมูลของพนักงานเฉพาะวุฒิการศึกษาและความสามารถเพียงอย่างเดียว
แต่ไม่ได้สนใจเนื้อหาส่วนที่เกี่ยวข้องกับวันเกิดหรือเพศของพนักงาน
กรณีที่นำเอาข้อมูลไปใช้ในการวิจัยและพัฒนาบุคลากร อาจเอาไปใช้ได้อย่างไม่เต็มที่
เพราะบอกไม่ได้ว่าพนักงานแต่ละเพศหรือมีช่วงวัยที่ต่างกัน มีความสามารถที่แตกต่างกันจริงหรือไม่
(เพราะข้อมูลไม่มีความสมบูรณ์นั่นเอง)
- สามารถตรวจสอบได้ (verifiable)
ข้อมูลที่ดี
ควรตรวจสอบแหล่งที่มาหรือหลักฐานอ้างอิงต่างๆได้
เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือต่อการนำมาประมวลผล
ข้อมูลที่ขาดการตรวจสอบหรือไม่มีความน่าเชื่อถืออาจเป็นกลลวงของคู่แข่งขัน
หรือทำให้การประมวลผลได้ข้อมูลผลลัพธ์ที่ผิดตามไปด้วย
ซึ่งอาจส่งผลเสียหายในภายหลังได้
2. ข้อมูลภายในสถาบันการศึกษาที่ท่านสังกัดอยู่
มีอะไรบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ สถาบันการศึกษา ที่ดิฉันสังกัดอยู่
ประกอบด้วย
-
จำนวนนักศึกษาทั้งหมดในสถาบัน ซึ่งสามารถแยกหรือหาข้อมูลย่อยๆได้อีกเช่น
จำนวนนักศึกษาชาย จำนวนนักศึกษาหญิง จำนวนนักศึกษาระดับปริญญาตรีหรือปริญญาโท
เป็นต้น
ข้อมูลภายในเหล่านี้อาจดูได้จากหน่วยงานด้านสถิติและทะเบียนนักศึกษาของสถาบันที่สังกัด
-
หลักสูตรที่เปิดสอนในระดับต่างๆ ข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรที่เปิดสอนในสถาบันการศึกษา
ถือเป็นข้อมูลภายในเช่นเดียวกัน
ซึ่งในหลายสถาบันอาจมีข้อมูลของหลักสูตรที่ไม่เหมือนกันได้ เช่น ชื่อหลักสูตร
ชื่อปริญญา หรือรายละเอียดของหลักสูตรที่ใช้สอน เป็นต้น
ข้อมูลภายในเหล่านี้อาจดูได้จากหน่วยงานฝ่ายวิชาการที่กำกับดูแลด้านหลักสูตรโดยตรง
- คณะหรือสาขาวิชาที่มีอยู่
จำนวนคณะหรือสาขาวิชาในแต่ละสถาบันการศึกษา อาจมีจำนวนไม่เท่ากัน
เหมือนกับข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตร บางสถาบันอาจมีคณะเพียง 2-3 คณะ
บางสถาบันอาจมีมากกว่านั้นได้ บางคณะอาจมีสาขาวิชาสังกัดอยู่เพียงไม่กี่สาขา
แต่บางคณะอาจมีอยู่หลายสาขา สามารถทราบข้อมูลเหล่านี้ได้จากหน่วยงานฝ่ายวิชาการเช่นเดียวกัน
3.ไฟล์หรือแฟ้มตารางข้อมูลคืออะไร
ตอบ คือ
การนำเอาข้อมูลหลายๆเรคอร์ดที่ต้องการจัดเก็บมาเรียงอยู่ในรูปแบบของแฟ้มตารางข้อมูลเดียวกัน
เช่น แฟ้มตารางข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่ขายอาจประกอบ
ด้วยเรคอร์ดของสินค้าหลายๆชนิดที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับ รหัสสินค้า ชื่อสินค้า
ราคาสินค้า และจำนวนที่ขายได้ เป็นต้น
4. ข้อมูลปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมิ
แตกต่างกันอย่างไร
ตอบ ข้อมูลปฐมภูมิ (primary data) เป็นข้อมูลที่มีการเก็บหรือรวบรวมก่อนครั้งแรก
เพื่อนำไปประมวลผลให้เกิดเป็นข้อมูลทุติยภูมิ (secondary
data) ในภายหลัง
ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่ออีกได้ เช่นค่าเฉลี่ยคะแนนของนักศึกษารายวิชาคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
สามารถบ่งชี้หรือนำไปวิเคราะห์ค่าทางสถิติอีกได้ถือเป็นข้อมูลทุติยภูมิ
ซึ่งอาจได้มาจากการเก็บรวบรวมคะแนนของนักศึกษาในแต่ละกลุ่มการเรียน(section) ที่ได้ลงทะเบียนเรียนในรายวิชานั้น
ซึ่งเป็นข้อมูลปฐมภูมิ เป็นต้น
5.ในแง่ของการจัดการข้อมูลนั้น
ข้อมูลมีโอกาสซ้ำกันได้หรือไม่ จะมีวิธีแก้ไขได้อย่างไร
ตอบ
ข้อมูลอาจมีการซ้ำกันเกิดขึ้นได้อยู่เสมอในบางฟีลด์ เช่น ชื่อสินค้า ชื่อตัว
หรือนามสกุล อาจมีการใช้ที่ซ้ำกันได้ การแก้ไขในเรื่องการจัดการข้อมูลคือ
สร้างคีย์ฟีลด์ (key field) เพื่อใช้อ้างอิงหรือระบุข้อมูลโดยเฉพาะ
เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการอ้างอิงข้อมูลที่ผิด
ซึ่งทำให้สะดวกและมีประสิทธิภาพมากกว่า
คีย์ฟีลด์ในตารางแฟ้มข้อมูลจะเป็นตัวอ้างอิงหรือระบุเรคอร์ดที่ต้องการได้
ปกติจะเลือกฟีลด์ที่ไม่มีข้อมูลซ้ำกันเลย เช่น ฟีลด์รหัสนักศึกษา ฟีลด์รหัสสินค้า
เป็นต้น
6.
การจัดโครงสร้างแฟ้มข้อมูลที่ง่ายและเป็นพื้นฐานมากที่สุด คือแบบใด
มีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง
ตอบ โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ (sequential file structure) ถือเป็นการจัดโครงสร้างแฟ้มข้อมูลชนิดพื้นฐานและสามารถใช้งานได้ง่ายที่สุด
โดยจะเรียงลำดับเรคอร์ดต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ
การอ่านหรือค้นคืนข้อมูลจะข้ามลำดับไปอ่านโดยตรงไม่ได้
เมื่อต้องการอ่านข้อมูลที่เรคอร์ดใดๆ
โปรแกรมจะเริ่มอ่านข้อมูลตั้งแต่เรคอร์ดแรกไปเรื่อยๆจนกว่าจะพบเรคอร์ดที่ต้องการอ่าน
จึงจะเรียกค้นคืนเรคอร์ดนั้นขึ้นมา
7.
โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบสุ่มสามารถทำงานได้เร็ว เป็นเพราะเหตุใด จงอธิบาย
ตอบ
การอ่านข้อมูลในเรคอร์ดใดๆสามารถเข้าถึงได้โดยตรง
ไม่ต้องรอหรือผ่านเรคอร์ดแรกๆเหมือนกับแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ ก็สามารถเลือกหรืออ่านค่าได้โดยทันที
ซึ่งเป็นโครงสร้างที่มีในสื่อประเภทจานแม่เหล็ก เช่น ดิสก์เก็ตต์หรือฮาร์ดดิสก์
8.
เหตุใดจึงต้องนำเอาระบบฐานข้อมูลมาใช้ในการทำงาน จงอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ เพื่อลดปัญหาเกี่ยวกับการทำงานที่ต่างคนต่างจัดเก็บข้อมูลแยกกัน
ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น โดยจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลกลาง
เพื่อให้ทุกฝ่ายหรือทุกหน่วยงานสามารถเลือกใช้ได้และยังทำให้ข้อมูลที่ใช้นั้นมีความตรงกันและลดความซ้ำซ้อนกันของข้อมูลลงไปได้
เช่น แต่เดิมข้อมูลที่อยู่ลูกค้าของฝ่ายขายและฝ่ายการเงินต่างก็แยกเก็บกันเอง
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่อยู่ของลูกค้าเกิดขึ้น
จึงไม่รู้ว่าจะใช้ที่อยู่ใดในการติดต่อดี
เพราะฝ่ายหนึ่งอาจมีการแก้ไขให้เป็นค่าที่อยู่ในปัจจุบันแล้ว
แต่อีกฝ่ายหนึ่งอาจไม่ทราบและไม่มีการแก้ไขใดๆ
หากจะติดต่อกับลูกค้าจริงๆอาจมีปัญหาขึ้น แต่เมื่อนำเอาระบบฐานข้อมูลมาใช้
ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลไว้ที่เดียวกัน จึงช่วยลดปัญหาเหล่านี้ลงไปได้
9.ความซ้ำซ้อนกันของข้อมูล
(data redundancy) คืออะไร จงอธิบาย
ตอบ คือการจัดเก็บข้อมูลไว้แยกกันหลายที่
ข้อมูลที่ต้องการจึงอาจมีบางส่วนที่ซ้ำซ้อนกันได้
กล่าวคือมีข้อมูลชุดเดียวกันถูกจัดเก็บใน 2 แฟ้มข้อมูลหรืออาจมากกว่านั้น
ทำให้เปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลโดยเปล่าประโยชน์
และเมื่อใดที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในแฟ้มข้อมูลนั้น
อาจจำเป็นต้องตามไปแก้ไขทุกๆแฟ้มที่จัดเก็บแยกกันอีกเพื่อให้ตรงกัน
จึงทำให้เสียเวลาเป็นอย่างมาก
10.DBMS มีประโยชน์อย่างไรต่อการใช้งานฐานข้อมูล
ตอบ ระบบการจัดการฐานข้อมูลหรือ DataBas Management Systems เป็นเสมือนตัวกลางที่อำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งานฐานข้อมูลได้เป็นอย่างดี
โดยที่ไม่จำเป็นต้องทราบถึงโครงสร้างทางกายภาพของข้อมูลในระดับที่ลึกมากก็สามารถดูแลรักษาฐานข้อมูลได้
รมถึงควบคุมการเข้าถึงข้อมูลต่างๆได้ด้วยอีกทั้งยังทำให้การค้นคืนข้อมูลต่างๆสามารถทำได้อย่างง่ายดาย
ซึ่งมักจะมีภาษาการจัดการกับข้อมูลโดยเฉพาะเป็นของตนเอง
11.
ภาษาที่ใช้สอบถามหรือเข้าถึงข้อมูลโดยผ่านรูปแบบการใช้คำสั่งเฉพาะ
เรียกว่าภาษาอะไร จงยกตัวอย่างของคำสั่งประกอบ
ตอบ
ภาษาคิวรี่เป็นภาษาที่ใช้สำหรับสอบถามหรือเข้าถึงข้อมูลฐานข้อมูลได้
ตัวอย่างของภาษาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ ภาษา SQLซึ่งเป็นคำสั่งภาษาที่นิยมใช้กันในระบบการจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ในปัจจุบันมากที่สุด
ตัวอย่างของคำสั่งต่าง ๆ เช่น
- DELETE ใช้สำหรับลบข้อมูลหรือเรคอร์ดใดๆในฐานข้อมูล
-INSERT ใช้สำหรับเพิ่มข้อมูลหรือเรคอร์ดใดๆเข้าไปในฐานข้อมูล
- SELECT ใช้สำหรับเลือกข้อมูลหรือเรคอร์ดใดๆที่ต้องการจากฐานข้อมูล
-UPDATE ใช้สำหรับแก้ไขข้อมูลหรือเรคอร์ดใดๆในฐานข้อมูล
12.
ความสามารถโดยทั่วไปของ DBMS มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ คุณสมบัติหรือความสามารถโดยทั่วไปของ DBMS ประกอบด้วย
-สร้างฐานข้อมูล
โดยปกตินั้น การออกแบบฐานข้อมูลอาจต้องมีการเก็บข้อมูลหรือขั้นตอนการ
ทำงานของระบบที่จะพัฒนาเสียก่อนเพื่อให้ทราบได้ว่าต้องการฐานข้อมูลอะไรบ้าง
ตารางที่จัดเก็บมีกี่ตาราง จากนั้นจึงนำเอามาสร้างเป็นฐานข้อมูลจริงใน DBMS ทั่วโป
โดยผ่านเครื่องมือที่มีอยู่ในโปรแกรมซึ่งอาศัยภาษา SQLในการสั่งงาน
- เพิ่มเปลี่ยนแปลงแก้ไขและลบข้อมูล
ฐานข้อมูลที่สร้างขึ้นด้วย DBMS นั้น สามารถเพิ่มค่า
เปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลต่างๆได้ทุกเมื่อโดยเข้าไปจัดการได้ที่ DBMS โดยตรง
เช่น เพิ่มค่าเรคอร์บางเรคอร์ดที่ตกหล่น ลบหรือแก้ไขข้อมูลบางเรคอร์ดที่ต้องการ
เป็นต้น
- จัดเรียงและค้นหาข้อมูลDBMS สามารถจัดเรียงข้อมูลได้โดยง่าย
ซึ่งสามารถเลือกได้ว่าจะให้จัดเรียงแบบใด
เรียงข้อมูลจากค่าน้อยไปหาค่ามากหรือเรียงตามลำดับวันเวลาเป็นต้นนอกจากนั้นยังสามารถระบุค่าเพียงบางค่าเพื่อค้นหาข้อมูลได้โดยง่าย
เช่น ป้อนอักษร A เพื่อค้นหาข้อมูลสินค้าที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษร Aได้
เป็นต้น - สร้างรูปแบบและรายงาน การแสดงผลบนหน้าจอ (form) และพิมพ์ผลลัพธ์รายการต่างๆออกมาเป็นรายงาน
(report) เป็นอีกคุณสมบัติหนึ่งที่ DBMS
สามารถทำได้
ช่วยให้ผู้ใช้งานที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูลดังกล่าว
สามารถตรวจสอบหรือแก้ไขรายการที่มีอยู่นั้นได้โดยง่าย
จาก
หนังสือคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น